หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ท่องเที่ยวแบบ “โฮมสเตย์”

สวัสดีค่ะ วันนี้ เที่ยวเมืองไทย มีเกร็ดความรู้เรื่องท่องเที่ยวเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับ “การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์” มาบอกเพื่อนๆ นักท่องเที่ยวทุกคนเลยค่ะ …. (^0^)/    

บางคนอาจจะรู้จักกับการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์กันบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบางคนที่ไม่เคยรู้จักว่าการท่องเที่ยวแบบนี้มีลักษณะอย่างไร .... ถ้าอยากรู้แล้ว ตามเรามาเลยค่ะ >>>    

“การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์” เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือเชิงอนุรักษ์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยสิ่งที่น่าค้นหา เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ ชื่นชอบการเข้าถึงและการสัมผัสกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่น นั้นๆ ที่ได้เดินทางไป โดยไม่สนใจในจุดดึงดูดด้านอื่นๆ แต่กลับสนใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นมากกว่าความหรูหราและความศิวิไลซ์  

“การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์” นี้ ได้รับความนิยมและแพร่หลายมาจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อย่างยุโรป และญี่ปุ่น เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว ก่อนที่จะมีการสนับสนุนอย่างเป็นทางการ จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้รู้จักกับการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้มากยิ่งขึ้น    

ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยม หันมาเที่ยวกันในรูปแบบนี้มากยิ่งขึ้น ด้วยเสน่ห์ที่น่าค้นหาและน่าสัมผัสด้วยตัวเอง จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมบ้านเมืองในชนบทธรรมดาๆ ที่ไม่ได้มีความหรูหราฟู่ฟ่าอะไร อย่างเช่น เชียงคาน ปาย สังขละบุรี หรือหมู่บ้านชนบทอีกหลากหลายสถานที่ในประเทศไทย ถึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวได้ดีนัก 


การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ มีทั้งแบบดั้งเดิม และ แบบประยุกต์ ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปบ้าง แต่จุดมุ่งหมายของการท่องเที่ยวยังคงเป็นไปตามวัตถุประสงค์เดียวกัน  



โฮมสเตย์แบบดั้งเดิม จะเป็นรูปแบบการท่องเที่ยว ในลักษณะที่นักท่องเที่ยวต่างเดินทางเข้ามาสัมผัสกับวิถีชีวิตและความเป็น อยู่ โดยใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้านทุกอย่าง ทำตัวกลมกลืนเสมือนเป็นคนในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก แต่การท่องเที่ยวในรูปแบบดั้งเดิมนี้ จะต้องเดินทางเข้าไปในชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งมักจะอยู่ในแหล่งชุมชนชนบทที่ห่างไกลความเจริญ อย่างเช่น แม่ฮ่องสอน และ เชียงราย เป็นต้น  


       ส่วนโฮมสเตย์แบบประยุกต์ จะมีลักษณะคล้ายๆ กับแบบดั้งเดิมอยู่บ้าง แต่จะเน้นเป็นเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยวเสีย มากกว่า โดยมีการปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ ให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงคอนเซ็ปท์ในรูปแบบของการใช้ชีวิตที่ไม่ละทิ้งความเรียบง่าย และยังคงไว้ด้วยความเป็นไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และหัวใจของการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้

     ปัจจุบัน มีหลายชุมชน หลายหมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้มีการประยุกต์ใช้พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังเป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้ไหลเวียนเข้าสู่ชุมชนชนบทได้อีกด้วย ซึ่งสถานที่เหล่านี้ ก็มีอยู่มากมาย ได้แก่ หมู่บ้านบางเบ้า เกาะช้าง จ.ตราด และ บ้านกองทราย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นต้น


      การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ไม่ว่าจะเป็นแบบดั้งเดิม หรือ แบบประยุกต์ ก็ตาม นักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางมา ต่างก็มีจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะต้องมีจิตสำนึกที่ดี ในการช่วยกันอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวแบบนี้ไว้ ให้คงอยู่ต่อไปด้วย     


                                                                                                                     เรียบเรียงโดย Joice Pitchaya

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

เรื่อง : โฮมสเตย์ แท้จริงมันเป็นอะไร ?



คำว่า โรงแรม รีสอร์ท เป็นคำที่เราได้ยินได้ฟังมานานมากจน ถึงปัจจุบันนี้ แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปจะรู้สึกแพงและหรูหราสมราคาของสถานที่ การบริหารโรงแรมและรีสอร์ทจึงเป็นกระบวนการจัดการที่กว้างขวาง ใช้ทรัพยากรมนุษย์ มีเงินทุนยาว อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกเพียบ การคมนาคม การสื่อสาร การตลาด และผู้บริหารต้องมืออาชีพ ไม่งั้นเจ๊ง

กลุ่มทุนที่ทำเรื่องดังกล่าวจึงต้องพิจารณาจากหลายปัจจัยกว่าจะตัดสินใจลง หลักปักฐานธุรกิจ การศึกษาวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ ความน่าจะเป็น และความผิดพลาดที่ต้องระวังเลข “0” ผลกระทบที่เกิดกับท้องถิ่นเป็นมุมกว้าง รายได้จากการท่องเที่ยวในภาพที่เอื้อประโยชน์ถึงภัตตาคาร ร้านค้าของฝาก ของชำร่วย รายเล็กรายใหญ่จะเกิด เรียกว่าเป็นผลพวงจากการท่องเที่ยวระดับจังหวัดหรือระดับประเทศ

รูปแบบการท่องเที่ยวที่เรียกว่า โฮมสเตย์ (Home Stay) ขณะ นี้ได้รับการสนองตอบจากชุมชนอย่างกว้างขวาง ลองอ่านกันดูน่ะว่า โฮมสเตย์ นั้นแท้ที่จริง เขาเหมารวมอะไรไปด้วยบ้าง หรือจะเรียกว่าองค์ประกอบของคำว่า... โฮมสเตย์ มีอะไรบ้างก็ได้

มันเริ่มต้นที่ว่า บ้านที่อยู่อาศัย เจ้าของบ้านอยู่อย่าง ไรก็อยู่อย่างนั้น ไม่ต้องไปต่อเติมแบบแยกหลัง แต่อาจจะเพิ่มห้องหรือขยายบ้านให้หรูหรา ซึ่งผิดไปจากธรรมชาติดั้งเดิมที่ชีวิตความเป็นอยู่เดิมๆของเขา เพียงแต่อาจจะเพิ่มที่นอนหมอนมุ้ง ห้องน้ำห้องสุขาให้สะอาดขึ้น วีถีชีวิตความเป็นอยู่เคยอยู่เคยทำอย่างไรก็อยู่ย่างนั้น อาจต้องเพิ่มเวลาให้กับแขกที่เข้าพักอีกหน่อย เช่นเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นหรือวิถีชีวิตการทำกินให้ฟัง

ค่าใช้จ่ายถ้าเป็นโรงแรมก็แยกค่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าเครื่องดื่ม แต่โฮมสเตย์ เหมา จ่ายเป็นรายหัวที่รวมทั้งที่พัก อาหาร เบ็ดเสร็จในคราวเดียว เป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านที่เปิดบ้านให้พักค้างและเรียนรู้วิถีชีวิตของ ชาวบ้าน รายได้ตกถึงท้องถิ่นโดยตรง เว้นแต่บ้านที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาบ้านให้เป็นโฮมสเตย์ เที่ยวแบบนี้นักท่องเที่ยวประหยัดเงินได้อีกหลายตังส์ รู้สึกสบายๆ ไม่เครียด นุ่งผ้าขาวม้าเดินเล่นก็ได้

นักท่องเที่ยวที่เข้าพักโรงแรมรีสอร์ทซึ่งใช้ทฤษฎี “บริการคืองานของเรา” จะ กินน้ำสักแก้วก็จะมีคนรินน้ำมาเสิร์ฟ อาหารรอทุกเวลาที่ห้องอาหาร มีบริการเบ็ดเสร็จ ที่นอนปูด้วยความเรียบร้อย ผ้าปูตึงเปรียะ  แต่นักท่องเที่ยวที่เข้าพักโฮมสเตย์ซึ่งใช้ทฤษฎี “ญาติมาเยี่ยมเยืยน” จะกินน้ำสักแก้วก็ต้องลุกไปหากินเอง อยากกินน้ำพริกก็ต้องช่วยกันตำช่วยกันโขก และถึงเวลาจะนอนก็แบกที่นอนไปปูนอนกันได้ตามใจชอบ

นิยามของคำว่าโฮมสเตย์ >>> จึงไม่ใช่การสร้างกระ ต็อบแยกออกไปในบริเวณบ้าน หรือบังกะโล หรือห้องแถว หรือห้องตามขอบบ่อปลา หรือกระชังปลา มีอาคารร้านอาหารที่ต้องมานั่งกินรวมกัน แต่ไปพักบ้านไหนก็กินกับบ้านนั้น  พฤติกรรมโฮมสเตย์จึงแตกต่างจากรีสอร์ท  โรงแรม น่ะค่ะ

พฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ดูรายการทีวี อ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อไปท่องเที่ยวจึงมักยึดติดกับค่านิยมการบริการ และพยายามที่จะให้ได้รับการบริการเหมือนโรงแรม ประกอบกับผู้ประกอบ การโฮมสเตย์จำนวนมากก็ยึดติดกับอุปนิสัยคนไทย แขกมาเยือนบ้านเรือนก็บริการด้วยน้ำใสไมตรีเสมอ ภาระการต้อนรับขับสู้ก็ทำให้เกิดความเหนื่อยยากและลำบากมากขึ้น เอาใจคุณสามีประจำบ้านก็เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ยังจะต้องมาเอาใจผู้มาเยือนอีกก็เหนื่อยแย่ซิค่ะ

หลักการโฮมสเตย์จึงเป็นบ้านหลังเดิมที่เพิ่มเครื่องนอนหมอนมุ้ง ถ้วยโถโอจาน และความสะอาด พฤติกรรมเจ้าบ้านเคยเป็นชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา คนตอนต้นไม้ เก็บผลไม้ขาย ก็ให้เป็นอย่างนั้นต่อไป เพิ่มเติมความสดใสด้วยการชวนเชิญญาติผู้มาเยี่ยมเยือนร่วมทำกิจกรรมที่ทำ อยู่ด้วย เล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่หรือหมู่บ้านให้ญาติผู้มาเยือนได้รับรู้และ จดจำ จะกินต้องช่วยกันหาและทำ จะอยู่ต้องช่วยกันปูและเก็บเครื่องนอน

มีโฮมสเตย์หลายแห่งเล่าให้ฟังว่า... นักท่องเที่ยวที่มา เยือนมักกลับมาหลายรอบจนแทบจะเป็นญาติสนิทกันไปแล้ว เงินทองแทบไม่อยากได้แต่ก็จำใจต้องรับเพราะค่าใช้จ่ายมันมี ส่วนนักท่องเที่ยวก็ยืนยันว่ามาแล้วสบายใจเหมือนได้กลับบ้านมาเยี่ยมญาติ ต่างก็รู้สึกยินดีปรีดาที่ได้พบกันอีกครั้ง นี่คือคุณค่าแห่งมิตรภาพที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง กับการที่ได้มาพัก แบบโฮมสเตย์

เรื่องนี้ก็ขอให้ทุกๆท่านได้ทำความเข้าใจกันด้วยน่ะค่ะว่า โฮมสเตย์  >>>> ไม่ใช่โรงแรม หรือ รีสอร์ท



                                                               


                                                                                                           เรียบเรียงโดย Joice Pitchaya

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ธุรกิจโฮมสเตย์

           
             

    " ททท.เผยโฮมสเตย์เฟื่องต่างชาตินิยมใช้บริการ" เป็นข่าวเล็ก ๆ ที่ดูเหมือนไม่น่าสนใจ และหลายคนอาจจะมองผ่านว่ามัน "ไกลตัว"

                    "โฮมสเตย"  คืออะไร อธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ก็แล้วกันนะค่ะ ก็คือ "ทำบ้านคุณให้เป็นโรงแรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว " นั่นเอง   แท้จริงแล้ว เป็นธุรกิจที่ทำได้ไม่ยากจนเกินไป แล้วเป็นธุรกิจที่ลงทุนน้อยด้วยซ้ำ และเป็นธุรกิจที่ เป็นการกระจายรายได้ได้ดีมาก และหลายคนก็คิดว่า โฮมสเตย์ จะต้องรับลูกค้าฝรั่งเท่านั้น ต้องพูดภาษาอังกฤษได้ ต้องนั่นต้องนี่ มากมาย จริง ๆ แล้วไม่ต้องขนาดนั้นค่ะ ธุรกิจท่องเที่ยว ไม่ใช่มีแค่ฝรั่งเท่านั้นที่เที่ยว มีคนไทยที่มีเงิน พร้อมเที่ยว ไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน แต่น้อยคนจะคิดค่ะ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยากจริง ๆ ไม่ยากค่ะ ดิฉันจะบอกให้ว่าลูกค้าคือคนเหล่านี้
  1. คนวัยทำงาน กทม. ที่มีรายได้เดือนละ 30,000 ขึ้นไป มีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน คนเหล่านี้ ใช่ว่าเขาไม่เบื่อชีวิตในเมือง ใช่ว่าเขาไม่เบื่อทะเล ใช่ว่าจะไม่เบื่อน้ำตก หรือสถานที่ท่องเที่ยว ที่รู้จักกันทั่ว ๆ ไป
  2. คนที่มีธุรกิจส่วนตัว ศิลปิน อาชีพอิสระ ที่มีรายได้สูง มีจำนวนมหาศาล ที่เขาอยาก สัมผัสอะไรที่แปลกใหม่
  3. ข้าราชการที่เกษียรแล้ว มีเงินบำเหน็ดบำนาญ อยากท่องเที่ยวไปในที่ ที่ไม่พลุกพล่าน
  4. ชาวต่างชาติที่ทำงานเป็นผู้บริหารอยู่ในเมือง ไทย มีจำนวนหลายหมื่นคน ที่มีรายได้เดือนละ ไม่ต่ำกว่าสองแสน บางคนอยู่เมืองไทยมานาน จนพูดไทยได้ปร๋อ
  5. ท้ายที่สุด นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทย ปีหนึ่งก็มีจำนวนหลายล้าน
         เห็นรึยังค่ะว่า จำนวนลูกค้ามีมหาศาล แต่รู้หรือไม่ค่ะว่าโฮมสเตย์ในเมืองไทยนี้ มีเท่าไรเอง ไม่กี่ร้อยหลังเอง ซึ่งมีตลาดกว้างอย่างมหาศาลยังเหลืออยู่ ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้ว ธุรกิจโฮมสเตย์ เหมาะมากกับคนไทย ที่มีอัธยาศัยดี ต้อนรับผู้มาเยือนและมีน้ำใจ แต่เราขาด ระบบการบริหารจัดการค่ะ ไม่มีใครมาให้ความรู้ และที่สำคัญที่สุด คือ "ความสะอาด" ค่ะ ลองมาประเมินดูว่า บ้านคุณเหมาะกับธุรกิจโฮมสเตย์หรือไม่
  1. อยู่ในเมืองท่องเที่ยว เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย ภูเก็ต สมุย แบบนี้จะได้เปรียบมาก เพราะมีนักเท่องเที่ยวเข้า มาอย่างสม่ำเสมอ แต่จุดเสียก็มีนั่นคือ ถ้าเมื่อไรอยู่้ในช่วงโลซีชั่นแขกก็หายหมดเช่นกัน
  2. ไม่ได้อยู่ในเมืองท่องเที่ยว แต่สิ่งแวดล้อมหรือบ้านของคุณ มีจุดเด่นและมีเอกลักษณ์ เช่นมีสวนเกษตรธรรมชาติ มีจุัดขายเรื่องของการพักผ่อน ที่เป็นเอกลักษณ์
  3. สำคัญคือ คุณมีความพร้อมเรื่อง การรักษาความสะอาดหรือไม่ กลุ่มลูกค้าเหล่านี้ มีงาน มีการศึกษาสูง มักจะรับไม่ได้กับความสกปรก หรือความไม่สะอาด มาเจอห้องน้ำที่ไม่สะอาด ห้องครัวถ้วยโหโอชาม แก้วน้ำ ดำเขลอะ แบบนี้ รับรองไม่รุ่งแน่นอน อันนี้เป็นสิ่งที่จะต้องปรับค่ะ จำเป็นมาก หากต้องการทำให้เป็นอาชีพ
  4. การบริหารจัดการ อันนี้ไม่ต้องถึงขั้นเหมือนโรงแรมหรอก แต่ขอให้เป็นระบบ เป็นสัดส่วน
  5. การตลาด สมัยนี้ง่ายมาก สมัครไปที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เขาจะมาช่วยให้ความรู้ และกระจายข่าวสารด้วย แต่ต้องทำให้เป็นมาตรฐาน ที่สำคัญ คนที่อ่านข้อมูลนี้ ทุกคนเปิดอินเตอร์เน็ต ได้ การใช้อินเตอร์เน็ตช่วยทางการตลาด แทบที่จะไม่มีต้นทุนเลย

               อยาก จะบอกว่า เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนทีเดียว ถ้าคุณเป็นคนที่ "ไม่มักง่าย" ในการ ให้ความสำคัญกับงานบริการ และเป็นมิตรกับลูกค้า ถ้าลูกค้ามาแล้วประทับใจ แน่นอนเขาจะบอกต่อ ๆ ให้บรรดาเพื่อนฝุงของเขา จะเกิดการตลาดแบบปากต่อไป ไปเรื่อย ๆ ทำให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้เลยนะค่ะ ค่าที่พักคืนหนึ่ง 300-500 บาท ต่อห้อง ไม่น้อยเลยนะค่ะ ถ้าคุณมีสักสองห้อง แล้วแขกพักเต็มตลอด อยู่ได้เลยนะค่ะ ไม่ต้องคิดถึง สินค้าต่อเนื่อง แต่ การที่จะทำให้แขกพักเต็มตลอด ไม่ใช่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่ยากจนเกินไป ถ้าคุณมีสิ่งแวดล้อมที่ดีอยุ่แล้ว การเสริม เติมแต่ง "สาระ" บางอย่างเข้าไป อาจจะทำให้ โฮมสเตย์ของคุณต้องจองคิวกันล่วงหน้า สองสามเดือนได้ 

            ที่สำคัญ คุณ ๆ ทั้งหลาย ที่มาจาก ต่างจังหวัด ทำงานในกรุงเทพฯ หรือในเมืองใหญ่ อย่าหลงระเริง กับชีวิตเมืองกรุง หรือชีวิตในเมืองใหญ่นะค่ะ ชีวิตลูกจ้างใช่ว่าจะมั่นคงเสมอไป วันหนึ่ง เศรษฐกิจไม่ดี หรือธุรกิจที่คุณทำงานอยู่ เจ้ง คุณ ก็จะต้องตะลอน ๆ ไปเป็นลูกจ้างที่ใหม่ เรื่อย ๆ จนวันหนึ่งที่อายุมากขึ้น มีเด็กรุ่นใหม่ที่เก่งกว่าคุณ ค่าจ้างถูกกว่าคุณเท่าหนึ่ง เมื่อนั้นหายนะจะมาเยือนคุณละค่ะ ดังนั้น หันกลับไปมอง ท้องถิ่นที่คุณจากมาบ้าง เอาความรู้ ภูมิปัญญา ความเฉลียวฉลาดกลับไป พัฒนาบ้านเกิด ท้ายที่สุดมันอาจจะกลายเป็นบ่อน้ำ ที่เลี้ยงคุณไปจนตายก็ได้ 


                                                                                                       เรียบเรียงโดย Joice Pitchaya

การตลาดแนวใหม่(Modern Marketing )

        การตลาดแนวใหม่(Modern Marketing )


         IMC-ไอเอ็มซี เป็นการวางแผนภายใต้แนวความคิดเดียวกันโดยใช้เครื่องมือการสื่อสาร(Tools)ที่หลากห ลาย ปัจจุบันกลยุทธ์ไอเอ็มซี เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงและคุณค่าตลอดจนบุคลิกภาพของตราสินค้าผ่านเครื่องมือสื่อสารการตลาด เพื่อใช้ในการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือเหล่านี้จะต้องพูดในเนื้อหาเดียวกัน (Speak with one voice) เพื่อสนับสนุนและตอกย้ำตราสินค้า เครื่องมือไอเอ็มซีมีหลากหลายประเภทด้วยกัน

         1.การพูดถึงตราสินค้า (word-of-mouth) คือ คำพูดและคำวิจารณ์ต่างๆไม่ว่าจะมาจากเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง ลูกค้าหรือแม้กระทั่งคู่แข่งเองก็ตามย่อมส่งผลกระทบกับตราสินค้าทั้งสิ้น ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีประสบการณ์ที่ดีกับตราสินค้า ย่อมแสดงข้อคิดเห็นหรือพูดถึงตราสินค้าในทางที่ดี

2.มารยาทและจริยธรรมของพนักงานในบริษัท (Employee morale) คือ พนักงานจะทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์หรือวิจารณ์ตราสินค้า ไม่ว่าจะเป็นกิริยามารยาท การแต่งกาย ทัสนคติที่มีต่อตราสินค้า และความรู้ความสามารถสิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงถึงภาพลักษณ์โดยรวมของบริษัทผู้ผลิตสินค้า การฝึกอบรมพนักงานให้มีสุขภาพจิตดี สุขภาพกายดี บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทำงานดี ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐาน ล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อพนักงานและผู้เข้ามาติดต่อในบริษัท และจะส่งผลดีต่อตราสินค้าในที่สุด

         3.การพัฒนาสินค้า(Product development) คือ มีทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ชึ่งจะต้องยึดจุดยืนของตราสินค้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการพัฒนาสินค้าด้วย นอกเหนือจากวัตถุดิบอื่นๆ เพราะการออกสินค้าใหม่จะได้ไม่ขัดกับบุคลิกภาพและจุดยืนของสินค้าที่กำหนดไว้ และการพัฒนาสินค้าจะต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้บริโภค

        4.ลักษณะทางกายภาพของสถานที่ (Physical premises) คือ จะต้องมีลักษณะโครงสร้งเหมือนกันเพื่อเป็นการตอกย้ำความทรงจำในบุคลิกภาพของตราสินค้า โดยอาศัยหลักไอเอ็มซีในเรื่องความคงที่สมด่ำเสมอ (Consistency) จะเห็นได้จากธนาคารหลายแห่ง ทุกสาขามักจะมีโครงสร้าง สีสัน รูปแบบ และภาพลักษณ์ที่ทราบทันทีเลยว่าเป็นธนาคารอะไร เป้นต้น

        5.หีบห่อสินค้า(Packaging) คือ เปรียบเสมือนเครื่องแต่งกายสินค้า ถือว่าหีบห่อเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคมองเห็นก่อนตัวสินค้าด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าใช้หีบห่อที่ดีและเหมาะสมก็จะช่วยส่งเสริมการขายให้กับสินค้าได้

          6.การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) คือ เครื่องมือสื่อสารการตลาดหนึ่งที่มุ่งเน้นการสร้าง รักษา และแก้ภาพลักษณ์ของตราสินค้
          7.การโฆษณา (Advertising) คือ การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดการขายสินค้ามากกว่าภาพลักษณ์ของตราสินค้า ซึ่งเจ้าของธุรกิจจะต้องเขียนขอบข่ายของแผนงานโฆษณาอย่างรัดกุม ชัดเจน และที่สำคัญจะต้องปฎิบัติตามแผนงานที่กำหนด ย่อมส่งผลให้การสร้างตราสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภา

          8.กิจกรรมเชิงการตลาด (Event Marketing) คือ ปัจจุบันกิจกรรมเชิงการตลาดเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดกิจกรรมเชิงการตลาดก็มีทั้งในลักษณะที่เน้นตัวสินค้า องค์กรและชุมชน (Product, corporate and community) ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม ก็จะสื่อสารด้วนตราสินค้าทั้งสิ้น

           9.การจัดงานแสดงสินค้า (Trade shows) คือ เป็นการสื่อสารการที่มุ่งแสดง สาธิต รับสั่งจองและขายสินค้า เป็นการนำผู้ขายและผู้ซื้อมาพบกัน โดยผ่านช่องทางที่ใช้ต้นทุนต่ำในการนำเสนอและสาธิตสินค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือนี้สามารถกำหนดสินค้าและกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน

          10.การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) คือ เป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มุ่งเสนอคุณค่า ข้อเสนอหรือสิ่งจูงใจพิเศษ (Extra Value) แก่กลุ่มเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค พนักงานขายหรือแม้กระทั้งจำหน่ายสินค้าอย่างร้านค้าเองก็ตาม เพื่อเร่งให้เกิดการซื้อสินค้าให้เร็วขึ้น และก่อให้เกิดอัตราการซื้อให้มากขึ้นด้วย นักสื่อสารการตลาดจะรู้จักกลยุทธ์การส่งเสริมการขายในรูปแบบของการแจกสินค้าตัวอย่าง การให้คูปองส่วนลดราคา การแถมสินค้า ตลอดจนการชิงโชค และการแข่งนขัน เป็นต้น

            11. การเป็นผู้อุปถัมภ์และกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event Marketing) คือ การสนับสนุนทางการตลาด (Sponsorship Marketing) เป็นเครื่องมือที่เจ้าของสินค้าลงทุนเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าเป็นผู้สนับสนุนทางการตลาดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีโอกาสเห็นตราสินค้ามากขึ้น โดยหวังผลทางธุรกิจมากกว่าภาพลักษณ์ของบริษัท แต่( Event Marketing) เน้นความสนใจในกิจกรรม ซึ่งมักจะนำสินค้าไปผูกกับเหตุการณ์พิเศษนั้น โดยหวังผลในด้านภาพลักษณ์มากกว่าธุรกิจ

             12. การสื่อสาร ณ จุดซื้อ (Point-of-Purchase Communications) คือ เป็นเครื่องมือไอเอ็มซีที่ทำหน้าที่ให้กลุ่มเป้าหมายเกิดจดจำในตราสินค้า และเกิดพฤติกรรมการซื้อสินค้า ณ จุดซื้อสินค้าเร็วขึ้น ซึ่งเครื่องมือนี้อาจใช้โปสเตอร์ สัญลักษณ์ ป้ายโฆษณา ป้ายติดชั้นวางของ (Shelf-Talker) หรือแม้กระทั่งบัตรวางที่เคาน์เตอร์ (Counter Cards)

             13.โปรแกรมการสร้างความผูกพันและความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Affiliation and Relationship Program) คือ เครื่องมือนี้จะเน้นและให้ความสำคัญกับการจัดโปรแกรม เพื่อสร้างความผูกพัน และความสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เช่น บริษัทรถยนต์หลายแห่งมีการส่งข่าวสารและจดหมายถึงผู้ซื้อรถและใช้รถของบริษัทของเขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ตลอดจนชักชวนให้ร่วมกิจกรรมต่างๆ กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้นๆ อีกด้วย

                                                                                     เรียบเรียงโดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ